เศรษฐกิจสร้างสรรค์ - เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นิยาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : Dek-D.com - Writer

    เศรษฐกิจสร้างสรรค์

    ผู้เข้าชมรวม

    137

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    137

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 มี.ค. 54 / 16:29 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      Creative   คืออะไร
      ผู้นำ ด้านผลิตภัณฑ์โลกความบันเทิงทางดิจิตอล สำหรับ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC) และอินเตอร์เน็ต. Creative ก่อตั้งขึ้นในสิงคโปร์ ในปี 1981 ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะให้สื่อความบันเทิง มัลติมีเดียเข้ามาปฏิวัติการใช้งานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ PCs. ชื่อเสียงโด่งดังจาก การ์ดเสียง Sound Blaster สำหรับการปฏิวัติโลกแห่งความบันเทิง Creative และทำให้โลกแห่งความบันเทิงทางดิจิตอล เข้ามาอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ PC ด้วยผลิตภัณฑ์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น ZEN และ MuVo สายการผลิตของเครื่องเล่นเพลงระบบดิจิตอล. ด้วยนวัตกรรมด้านฮาร์ดแวร์ของ Creative, เทคโนโลยีที่จดลิขสิทธิ์ แอพลิเคชั่น และบริการด้านอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้ผู้ใช้งาน ได้รับประสบการณ์ความบันเทิงบนโลกดิจิตอล คุณภาพสูง - ทุกที่, ทุกเวลา. ตั้งแต่ปรากฏการณ์ ความสำเร็จของการ์ดเสียงที่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานของเสียงเพลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ในปี 1989, Creative ด้ยกระดับสุดยอดของเทคโนโลยีเสียง นำมาเปิดตลาด สู่ฐานผู้ใช้มากมาย ให้ได้พบกับประสบการณ์แห่งโลกความบันเทิงส่วนบุคคล Personal Digital Entertainment (PDE). จนวันนี้ Creative ได้รับการกล่าวขาน ว่าเป็นผู้นำของโลก ในด้านนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์เสียง และความบันเทิงส่วนบุคคล, นำเสนอความสมบูรณ์แบบ แห่งโลกของความบันเทิงแบบดิจิตอลคุณภาพสูง ต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ PC ผ่านทางฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์แอพลิเคชั่น และบริการต่างๆ ของ Creative เพื่อค้นหาความสมดุลที่ลงตัว ของรูปทรง และการใช้งาน Creative มุ่งมั่นที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ ทุกชนิด เพื่อตอบสนองต่อภาพลักษณ์ และโสตสัมผัสCreative เพิ่มพลังของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ด้วยผลิตภัณฑ์ PDE อินเตอร์แอคทีฟ หลากหลายชนิด ประกอบด้วย เครื่องเล่น MP3, ศูนย์สื่อความบันเทิงแบบพกพา, ลำโพงมัลติมีเดีย, กล้องดิจิตอล และเว็บแคม, อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ PC กราฟฟิค, คีย์บอร์ดเสียงรุ่นใหม่, และผลิตภัณฑ์ด้านวีดีโอ และอุปกรณ์ต่อเชื่อม. ผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ นำออกวางตลาดสู่ลูกค้า ด้วยระบบรวมการ ผ่านทางเครือข่าย การจัดจำหน่ายทั่วโลก ได้แก่การขายแบบปกติ การขายผ่านผู้ผลิตอุปกรณ์โดยตรง (OEMs) และผ่านทางอินเตอร์เน็ต. นวัตกรรมของ ผลิตภัณฑ์ Creativeได้รับรางวัลและคำกล่าวขวัญจากนานาชาติ มากมาย ตลอดระยะเวลาหลายปี. รางวัลที่มีชื่อเสียง ที่ได้รับมาไม่นานมานี้ จากงานแสดง Consumer Electronics Show ได้แก่ รางวัล "Best of CES" ติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีซ้อนสำหรับ Prodikeys PC และคีย์บอร์ดเสียงเพลง (2003), เครื่องเล่น ZEN Portable Media Centre (2004), เครื่องเล่น MP3 ZEN MicroPhoto (2005) และเครื่องเล่น MP3 ZEN Vision:M (2006). เครื่องเล่น MP3 ขนาดเล็ก ZEN Micro MP3 ยังได้รับรางวัล "Best of DigitalLife 2004" จากนิตยสาร Ziff Davis Media อีกด้วย
      Creative ยังได้กำหนดมาตรฐานเสียงใหม่ ด้วยการเปิดตัวของระบบเสียง Xtreme Fidelity (X-Fi) ตัวล่าสุด. ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสุด ทำให้ได้รับคำยกย่องอย่างมากมายในวงการอุตสาหกรรม และได้รับคัดเลือก รางวัลความบันเทิงใหม่ล่าสุด "Best of What's New in Home Entertainment" จาก Popular Science ในปี 2006 สำหรับการนำเอาเสียงคุณภาพ มาสู่เพลง MP3 .
      Creative แข็งแกร่งด้วยหุ้นส่วนธุรกิจ กับบริษัทที่เป็นบริษัท อุตสาหกรรมและพัฒนาแนวหน้าระดับโลก ทำให้เราเป็นผู้นำของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ การวิจัย และพัฒนาอย่างแท้จริง. Creative ได้ร่วมลงจัดการกลยุทธ์ทุนทางด้านการลงทุน กับบริษัทในสหรัฐอเมริกา.ก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง, ภารกิจของ Creative แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า และบทบาทที่มีต่อตลาดโลก สุดยอดการออกแบบ ของ PDE ให้ทันสมัย ไม่ใช่เพียงแค่ให้บริการทางเทคนิคต่อลูกค้า, แต่สำหรับทุกคนที่รักความบันเทิง. ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ความง่ายต่อการใช้งาน, คุณลักษณะหลากหลายและความบันเทิงของการออกแบบผลิตภัณฑ์, เครื่องหมาย Creative หมายถึง โลกความบันเทิงทางดิจิตอลส่วนตัว. ในเดือนมิถุนายน 1994, Creative ได้รับการขึ้นชื่อเข้าสู่ตลาดหลัก บนตลาดหุ้นสิงค์โปร์ Singapore Exchange (SGX). สำนักงานใหญ่ขององค์กร Creative ทั่วโลก ตั้งอยู่ในสิงค์โปร์ , ศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค. มีสำนักงานใหญ่ ประจำภาคพื้นทวีป ในอเมริกา (มิลิพิทา, มลรัฐ แคลิฟอร์เนียร์), ยุโรป (ดับลิน, ไอร์แลนด์) และเอเซีย (ประเทศสิงคโปร์). เครือข่ายองค์กรทั่วโลก
      ของ Creative

      สำนักงานใหญ่องค์กรทั่วโลก
      สำนักงานใหญ่ องค์กรทั่วโลกของ Creative, Creative Resource, ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์. ในบริเวณย่านธุรกิจสำคัญ ระดับนานาชาติ Business Park สำหรับอุตสาหกรรมไฮเทคในสิงคโปร์. อาคารสำนักงาน 8 ชั้น อันทันสมัย อาคารพื้นฐานขนาด 6 ชั้น มีห้องทำงานต่างๆ, ห้องประชุม, และ อัฒจันทร์กลางแจ้ง สามารถ จุคนได้ 2,000 คน. มันยังเป็นบ้านของ ร้านจำหน่ายปลีกปลิตภัณฑ์ Creative แบบรวมการเบ็ดเสร์จในที่เดียว, ร้านจำหน่าย CREATIVE Store, ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ที่หลากหลาย และผลิตภัณฑ์ความบันเทิงดิจิตอลแบบส่วนตัว ภายในที่เดียวกัน เหมือนกับเป็นสถานีแสดง และทดสอบผลิตภัณฑ์ ได้ในตัว สำนักงานใหญ่องค์กรทั่วโลกของ ดูแลทิศทางของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา, การออกแบบทางวิศวกรรมและการผลิตในโรงงาน, การจัดการการผลิต, การขาย และการตลาด, การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และระบบการจัดการสินค้า รวมทั้งการให้บริการทางเทคนิค. ด้านการขาย และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ดำเนินการผ่านเครือข่าย ของบริษัทสาขาทั่วโลก ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และ เอเชีย. บริษัทสาขาและสำนักงานขายที่มากมายเหล่านี้ ส่งผลให้ บริษัท Creative สามารถให้การสนับสนุนฐานเครือข่ายเน็ตเวิร์คที่กว้างได้มาก หลากหลายช่องทางจำหน่ายในกว่า 80 ประเทศทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ. Creative Labs ภาคพื้นอเมริกา
      ในปี 1988, เราได้ตั้งบริษัทสาขาของอเมริกา,บริษัท Creative Labs, อิงค์. ด้วยเป้าหมายที่จะเจาะเข้าไปใน
      ฐานการตลาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา. ตั้งอยู่ในเมืองมิลิพิทา, มลรัฐ แคลิฟอร์เนียร์, คือ Creative Labs, อิงค์. เพื่อรองรับ การขาย และการตลาด, การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์, การฝึกอบรม และการสนับสนุนลูกค้าสัมพันธ์ สำหรับกลุ่ม Creative Technology ในภาคพื้นอเมริกา. หน่วยงานบริษัท Creative Labs’ มี่ทีมงานทางด้านศูนย์บริการทางเทคนิคใน เมือง Stillwater รัฐ Oklahoma.Creative Labs ภาคพื้นยุโรป
      บริษัท Creative Labs ยุโรป ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 เพื่อที่จะจับกลุ่มเป้าหมายชาวยุโรปในตลาดที่มีความเจริญเติบโตสูง โดยทงภาคพื้นยุโรปได้เมีครื่อข่ายรองรับการให้บริการลุกค้าของ Creative ในประเทศหลักๆใน กลุ่มประเทศเบเนลักซ์, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, อิตาลี, โปแลนด์, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปน, สวีเดน และ สหราชอณาจักร.Creative Labs ภาคพื้นเอเชียในเดือนกันยายน 1999, Creative Labs เอเซีย ก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นแกนหลักในการจำหน่าย และช่องทางการตลาด ในประเทศในเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น, จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แอฟริกาใต้, อินเดีย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ไทย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, ตุรกี และตะวันออกกลาง. สำนักงานเอเชีย ประกอบด้วยหลายส่วนงาน, เช่น ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ, ฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์, ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นเอเชีย และฝ่ายบริการลูกค้า. ฝ่ายต่างๆนี้ ช่วยให้เร่งการจำหน่าย เพื่อเร่งความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดภาคพื้นที่กำลังโตขึ้นอย่างรวดเร็ว.
       
      Economy เศรษฐกิจสร้างสรรค์
       
      คำว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์(Creative Economy) ในปัจจุบันคำที่ใช้กันมากและอาจสร้างความสงสัยให้ผู้คนได้ไม่น้อยก็คือคำว่าCreative Economy หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขึ้นในเศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้ เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่รู้จักใช้คอนเซ็ปท์ Creative Economy (CE) ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง การส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลกในรูปของภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เพลง นักร้อง แฟชั่น การท่องเที่ยว ศิลปะการแสดง อาหาร ฯลฯ
      แนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
      ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดคำนิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เป็นหนึ่งเดียวขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยความหมายอย่างง่าย
      ของ
      “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งนิยามโดย John Howkins คือ การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์สำหรับสาขาการผลิตที่พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะเรียกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ซึ่งหมายถึง กลุ่มกิจกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์เป็นวัตถุดิบสำคัญ
      “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มีองค์ประกอบร่วมของแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่
      การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในปัจจุบันแม้ว่าจะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการพัฒนาที่ต่อเนื่องและต่อยอดจากแนวทางการพัฒนาด้วยการเพิ่มคุณค่า (Value creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรมซึ่งได้ขับเคลื่อนการพัฒนาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ในปัจจุบันทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการขยายองค์ความรู้และสร้างความเข้าใจกับภาคีการพัฒนาทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างจริงจัง และมีบูรณาการ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างเป็น รูปธรรม
      แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในปัจจุบัน
      (1) นโยบายรัฐบาล
      (2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
      (3) แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2: SP2)
      แผนงานพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย
      (1) มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และความหลากหลายทางชีวภาพ
      (2) เอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรม
      (3) งานช่างฝีมือและหัตถกรรม
      (4) อุตสาหกรรมสื่อ บันเทิง และซอฟต์แวร์
      (5) การออกแบบและพัฒนาสินค้าเชิงสร้างสรรค์
      (6) การขับเคลื่อนและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
      แผนงานพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้รับการอนุมัติกรอบวงเงินจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 45 โครงการ และต่อมามีการรวมกลุ่มโครงการเหลือ 39 โครงการ กรอบวงเงิน 20,134.10 ล้านบาท จากหน่วยงานรับผิดชอบ 7 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร
      การที่ประเทศไทยจะสามารถนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มาผลักดัน/พัฒนาประเทศไทย ต้องดูองค์ประกอบอีกเยอะ และต้องดูกันอีกยาว
       
      อ้างอิง
      http://www.oknation.net/blog/imp/2009/11/09/entry-1
       
                      นางพัชรี พลเยี่ยม  กศ.ปช. การจัดการทั่วไป รุ่น 20 รหัส 21
                   

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×